วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไวโอลิน ไฟฟ้า




ไวโอลินไฟฟ้า (Electric Violin) ถ้าคุณเล่นไวโอลินในวงดนตรี คุณจะพบว่าเสียงของมันไม่ดังพอที่จะเเข่งกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ เเทนที่จะใช้ไมโครโฟนธรรมดา คุณอาจจะใช้ไวโอลินไฟฟ้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หรือเปลี่ยนไวโอลินคลาสสิกของคุณให้กลายเป็นไวโอลินไฟฟ้า หรือติดไมโครโฟนแบบมีขายึด ไวโอลินไฟฟ้ายังใช้ฝึกแบบไม่มีเสียงรบกวนเพื่อนบ้านได้อีกด้วยโดยใช้หูฟัง

โดยทั่วไปแล้วไวโอลินไฟฟ้ามี 2 ประเภทด้วยกันคือ แบบแรกแทบจะไม่มีเสียงอะไรเลยถ้าไม่ได้ใช้อุปกรณ์ขยายเสียง แบบที่ 2 คือไวโอลินธรรมดาที่ดัดแปลงให้เป็นไวโอลินไฟฟ้า ซึ่งอย่างหลังสามารถเล่นโดยไม่ใช้อุปกรณ์ขยายเสียงได้เช่นกัน ถือเป็นไวโอลินกึ่งอคุสติกและไฟฟ้าในตัวเดียวกัน


















































































































































































































































































ukulee

อูคูเลเล่" เครื่องดนตรี "ฮาวาย" เพลินเพลิน พริ้วไหว ทุกท่วงทำนอง



ใครที่กำลังหาเครื่องดนตรีสักชิ้นเพื่อจะได้บรรเลงเพลงเป็นกับเขาบ้าง แม้จะไม่ได้เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์แบบบางคนที่ "จับปุ๊บติดปั๊บ" ลองไปหาเครื่องดีดตัวน้อยๆที่มีชื่อว่า "อูคูเลเล่" (Ukulele) เครื่องดนตรีสัญชาติ "ฮาวาย" ที่หน้าตาละม้ายคล้ายกับ"กีตาร์" ย่อส่วนลงและลดจำนวนสายเหลือแค่ 4 สาย ขนาดกะทัดรัด รูปร่างน่ารัก พกพาสะดวกและมีเสียงที่ไพเราะ เล่นที่ไหนเมื่อไหร่ครื้นเครงได้เมื่อนั้น ขนาดเพลงเศร้าที่มี "อูคูเลเล่" ยังทำให้ฟังสนุกได้


เริ่มแรก "อูคูเลเล่" เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งบ้านของคนไทยที่หิ้วมาจากต่างประเทศ ใครพบเจอครั้งแรกก็คิดว่าเป็นของเด็กเล่นพร้อมกับตั้งคำถาม "เล่นได้จริงหรือ" จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ "อูคูเลเล่" กลายเป็นเครื่องดนตรีสุดฮิตในกลุ่มวัยต่างๆ ทั้ง เล็ก กลาง ใหญ่ ที่หันมาสนใจอย่างจริงจังหลังจากได้ยินเสียง "อูคูเลเล่" บรรเลงโดยชายร่างใหญ่(มาก) IZ Isreael Kamakawiwo ร้องเพลงสไตล์ฮาวาย ในชื่อเพลง Somewhere Over the Rainbow - What a Wonderful World ที่สะกดจิตผู้ฟังให้เคลิบเคลิ้มไปกับเสียงอันไพเราะของนักร้องและเครื่องดนตรีตัวจิ๋วที่ไปอยู่ในมือชายร่างใหญ่โต และยังมี Jack Johnson, Jason Mraz หรือ John Mayer ที่โด่งดัง และผลงานเพลงของพวกเขาก็เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก


ในประเทศไทย "อูคูเลเล่" เข้ามาแพร่หลายเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาและฮิตกันสุดๆเมื่อปลายปี 53 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 54 ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมากหันมาเล่น"อูคูเลเล่" จนเครื่องดนตรีชนิดนี้ขาดตลาดขนาดแหล่งใหญ่อย่าง"เวิ้งนครเกษม"ก็ต้องสั่งกัน 5-6 เดือนกว่าจะได้ของ แม้แต่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆยังหมดเกลี้ยง จนบางคนเข้าไปสั่งในอินเตอร์เน็ตส่งมาทางเรือก็ต้องรอเป็นเดือน


กระแส "อูคูเลเล่" ฟีเวอร์ เริ่มต้นจาก "สิงโต นำโชค" หรือชื่อจริง นำโชค ทะนัดรัมย์ ชื่อเล่น "บักสิงโต" เจ้าของรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 และ รางวัล People Choice ผู้ที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด จากการประกวด Ukulele Thai ร่วมกับร้าน ริบบี บูติก จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย นำเครื่องดนตรีชนิดนี้มาประกอบการร้องเพลงจนใครๆก็อยากเล่นตาม บวกกับกระแสนักร้องนักแสดงเมืองไทยหยิบจับดีดโชว์เล็กๆน้อยๆก็ทำให้คนแห่ตามไปสัมผัสบ้าง


เสน่ห์ของเครื่องดนตรีฮาวายชิ้นนี้ ไม่ใช่เพราะเห่อตามดารานักร้อง แต่เมื่อใครได้พบเห็นและสัมผัสจะเห็นความน่ารักในตัวของมันเอง เสียงที่สนุกสนานประกอบการเล่นที่ไม่ยากเกินความสามารถของผู้ที่อยากลองเล่นเครื่องดนตรีสักชิ้น เริ่มจาก "อูคูเลเล่" รับรองไม่ผิดหวัง แม้จะไม่ถึงขั้นมืออาชีพเป็นแค่มือสมัครเล่นก็พอแล้ว สำหรับคนที่ไม่เคยเล่นเครื่องดนตรีอะไรมาก่อนหรือพยายามแล้วแต่ไม่ได้ ขอแนะนำ "อูคูเลเล่" ส่วนใครที่มีพื้นฐานทางดนตรีแค่จับดีดวันเดียวก็เล่นได้แล้ว


มีกลุ่มนักดนตรีที่สนใจ "อูคูเลเล่" ตั้งเป็นชุมชน ukulele เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำสำหรับคนไทยที่กำลังหัดเล่นและสนใจเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนี้ โดยสร้างเว็บไซต์ชื่อ UkuleleThai.com เน้นการให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ อูคูเลเล่ จากทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพ ต่างจังหวัด หรือแม้แต่ต่างประเทศ ได้เข้ามาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยตามแกะเนื้อหาวิธีการจากเว็บในต่างประเทศมาแนะนำคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อ ตั้งเสียง คอร์ดเพลง และยังมีอาจารย์สอนอีกด้วย นอกเหนือจากมหาวิทยาลัย"ยูทูบ"


ปรีดา จารุสุนทรศรี ผู้ดูแลเว็บไซต์ UkuleleThai.com บอกว่า การเริ่มก่อตั้งเว็บนี้ขึ้นมาเริ่มจากคุณวุฒิ(พัศภูมิ เนาว์นาน) เกิดแรงบันดาลใจจากเครื่องดนตรีสัญชาติฮาวายที่ซื้อมาให้ลูกสาวเล่น หลังจากนั่งแกะโน้ตเอง รู้สึกว่ามันน่าสนใจและชอบมากจึงสนใจจริงจังจนนำมาสู่การสร้างเว็บขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนที่เล่นอูคูเลเล่ เริ่มขึ้นในปี 2551 มีคนสนใจประมาณ 800 คน พอปี 2552 เริ่มมีคนสนใจมากขึ้น จนกระทั่งปี 2553 มีคนเข้ามาเป็นสมาชิกแบบก้าวกระโดด 7,820 คน

ผู้ดูแลเว็บ UkuleleThai.com ยังบอกอีกว่า ทางทีมงานได้นำข้อมูลทางเว็บไซต์ต่างประเทศที่เขามีมาก่อนไทยนานแล้ว แกะวิธีการเล่น การดีด มาจากเว็บต่างประเทศล้วนๆ เพราะในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลเหล่านี้เลย ในเว็บจะมีวิธีการสอนและมีคลิปวิดีโอแนะนำสำหรับคนที่กำลังฝึกเล่นได้ดูตัวอย่างและทำตามจนกระทั่งเล่นเป็น




ปรีดา แนะนำว่า Ukulele มี 4 ขนาด คือ Tenor, Soprano , Concert และ baritone โดย Soprano จะมีเสียงแหลมกว่า ส่วน Concert เสียงจะทุ้มขึ้น และ Tenor จะทุ้มกว่า และ Sopranino เสียงมีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งอูคูเลเล่มีทั้งเนื้อไม้และพลาสติก สายทำมาจากเอ็นและถ้าแบบดีดีจะผสมไส้แกะจะทำให้ไม่เจ็บมือ และที่นิยมกันมากที่สุดจะเป็นขนาด Soprano , Concert เพราะว่าขนาดเล็กและพกพาสะดวก ราคามีทั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่น



สำหรับเหตุผล 4 ข้อที่คนหันมาเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้ ปรีดา บอกว่า เพราะ 1. เล่นง่าย 2.ไม่เจ็บมือ(เจ็บน้อยลง) ต้องเลือกสายดีดี 3.แก้ปัญหาคนนิ้วสั้น และ 4.เล็กทำจากไม้ พกพาสะดวก กลุ่มคนที่เลือกเล่นเพราะไม่มีพื้นฐานทางด้านดนตรี เล่นแล้วไม่เจ็บมือ 50 % เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 18-30 ปี ผู้หญิงชอบเล่นกีตาร์อยู่แล้ว พอฝึกกีตาร์เจ็บนิ้วเลิกไปแต่พอมาเจออูคูเลเล่รู้สึกว่ามันเล่นง่ายไม่เจ็บนิ้ว แล้วบอกต่อๆกัน


ทางด้านอาจารย์ผู้สอนเล่นอูคูเลเล่ "ศุขสันต์ ตรีนุภาพ" หรือ "ต้น" เล่าถึงทีมาในการมาเป็นครูสอนอูคูเลเล่ว่า มีพื้นฐานกีตาร์มาก่อนและอูคูเลเล่เล่นง่ายเหมือนกีตาร์ เสียงมีเสน่ห์ด้วยตัวมันเอง สนุกดี ชอบและสนใจ จับวันเดียวก็เล่นได้แล้ว แค่จำคอร์ดใหม่เท่านั้นเอง แต่เสียงกีตาร์จะละเอียดอ่อนมากกว่า อูคูเลเล่ ซึ่งจะให้เสียงสนุกสนานเล่นเพลงอะไรก็สนุกขนาดเล่นเพลงเศร้ายังสนุกได้(จริง)


"อูคูเลเล่เป็นแทรนด์น่าสนใจ อย่างคนไม่เคยเห็นแล้วมาเห็นแล้วอยากเล่น เริ่มจากหน้าตาน่ารักจะตั้งคำถามว่าเล่นได้จริงหรือเปล่า เล่นเป็นเพลงได้จริงหรือพอเล่นได้จริงจะสนใจขึ้นมาทันที"



ครูผู้สอนอูคูเลเล่ บอกเทคนิคว่า สำหรับคนเริ่มหัดเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจำ ใครที่เริ่มเล่นให้เลือกมา 1 เพลงแล้วจำคอร์ดให้ได้เป็นจุดเริ่มต้น จำว่าคอร์ดลงตรงไหนแล้วลองฟังดู ไม่ว่าจะฟังเวอร์ชั่นธรรมดาหรือ อูคูเลเล่ฟังด้วยตัวเอง แล้วมาฝึกดูว่าคอร์ดต้องจับอย่างไรแล้วเริ่มดีดลง ส่วนตัวเพลงไม้ตายที่เล่นทุกครั้งที่แนะนำคนอื่นให้เล่น เพลง I′m yours เป็นเพลงที่เล่นไม่ยากมีแค่ 4 คอร์ด และถ้าไปเล่นคู่กับกีตาร์ก็เข้ากัน เพราะเป็นโน้ตกลุ่มเดียวกัน


ส่วนปัญหาหลักๆที่พบคือ คือ กดคอร์ด D คนนิ้วใหญ่จะมีปัญหาแต่จะมีวิธี ถ้าเราฝึกจะหาวิธีกดของเราได้เองก็ไม่อยาก อย่างคอร์ด C จับอย่างไรก็ได้แค่ให้ตัวเองถนัด และคอร์ดต่อไปจะใช้นิ้วไหนก็ต้องให้มันสัมผัสกัน แต่ในยูทูบจะเห็นหลายแบบนั่นเพราะว่าเขาจะทำให้เก๋ๆ ไม่มีอะไรตายตัว ลองเอาหนังสือคอร์ดไปเปิดดูแล้วลองเล่นเพลงนั้น ถ้าคนเล่นกีตาร์มาก่อนจะจับจังหวะได้เร็วกว่า เพราะบางคนไม่คลิกเรื่องจังหวะ ส่วนใหญ่คนที่เล่นไม่เป็น คำถามแรก คือ "ดีดขึ้นกี่ทีดีดลงกี่ที" ก็จะสอนว่าเริ่มจากฟังก่อนแล้วจำเองให้ลงตรงกับที่หัวสมองบอกดีที่สุด หากไปบอกว่าดีลง 1 ที ขึ้น 2 ที ก็จะไม่ไปไหนเพราะเพลงแต่ละเพลงก็ไม่เหมือนกันดีดคนละแบบ ถ้าสามารถจับจังหวะเองได้ เข้าใจได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าฝึกทำได้แน่นอน ถ้าเล่นได้เองจะไปได้ไกล


"ลูกศิษย์ที่มาเรียน 90 % ไม่มีพื้นฐานดนตรีก่อนแต่มันไม่ยากเลย แต่เลี่ยงไม่ได้คือต้องจำและต้องฝึก ถ้าเรียนไปแล้ววางก็ลืม ต้องฝึกไปเรื่อยๆ ต้องเริ่มจากความชอบ อยากจะเล่น และเล่นแล้วมีความสุข วิธีการเลือกเครื่องดนตรีคู่กายก็ต้องไปลองฟังเสียง ลองเล่นลองดีด ลองจับดู เพื่อจะได้เกิดความประทับใจกับเสียงที่เราเลือกแล้ว"


บางครั้งเราไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ แต่บางทีสิ่งนี้อาจจะเกิดมาเพื่อเราก็ได้ เพียงแค่เราไม่หยุดเสาะหามัน "พรแสวง" ที่หาง่ายกว่า "พรสวรรค์" จะบังเกิดขึ้นได้เพียงแค่มุ่งมั่น ตั้งใจ หมั่นฝึกฝน รักและชื่นชอบอย่างจริงจัง แล้วพยายามทำให้ดีที่สุด เพียงเท่านี้ "อูคูเลเล่" อาจกลายมาเป็นเครื่องดนตรีคู่กายของนักดนตรีมือสมัครเล่นที่อาจจะกลายมืออาชีพได้ในอนาคต ใครจะรู้ได้....?






































































































































































วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กีต้าร์




          กีตาร์ (อังกฤษ เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอนแก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์
กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง
กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย[ และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี
ปกติกีตาร์จะมีสาย แต่แบบสายก็มีเช่นกัน

ประวัติ
เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมากว่า 5,000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara) เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์
คำว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors
กีตาร์ในยุคปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไวกิ้ง
ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ พบเห็นจนถึงปี 1576
เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปีเป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการผลิตแมนโดลินมาก่อน
กีตาร์ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์ได้รับสิทธิบัตรในปีและร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ตั้งบริษัทผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ต่อมาในช่วงทศวรรษจอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[1]

 ประเภทของกีตาร์

 กีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์

Renaissance guitars
มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก และให้เสียงที่เบากว่ามาก
Classical guitars
กีตาร์คลาสสิก ถือเป็นต้นแบบกีตาร์ในยุคปัจจุบัน มีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดขนาดใหญ่ประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะแบนราบ สายที่1 และ2 เป็นสายไนล่อน
Portugมีสาย ใช้กับเพลงพื้นเพลงชื่อในประเทศโปรตุเกส
Flat-มีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์คลาสสิก และเสริมความแข็งแรงที่คอ เพื่อรองรับแรงตึงของสาย ให้เสียงที่ใสและดังกว่า สายที่ใช้ สาย1และ2 มีลักษณะเป็นเส้นลวดเปลือย สายที่3-6 เป็นเส้นลวดและมีขดลวดเล็กๆพันเป็นเกลียวเพื่อเพิ่มขนาดของสาย
ด้านหน้าจะโค้ง โพรงเสียงไม่เป็นช่องกลม สะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา นิยมใช้เล่นในดนตรีแจ๊สหรือคล้ายกับกีตาร์ Flat-top
12 string guitar

 กีตาร์ไฟฟ้า

แบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์
กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body)
หมายถึง กีต้าร์ไฟฟ้าปกติที่ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่าและแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker
กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body)
เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอกีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์เช่นเดียวกับกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าซึ่งเกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)
กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body)
กีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงเช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์เช่นเดียวกันกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีต้าร์แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า กีต้าร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่

 

  1. Walnut

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระนาดเอก


 


              ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน

 ลักษณะทั่วไป
ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ชิงชัน หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยูงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า ใช้ในงานมงคล เป็นเครื่องดนตรีเป็นมงคลในบ้าน

 การฝึกหัดบรรเลงระนาดเอก

1. ท่านั่ง ท่านั่งที่นิยมในการบรรเลงระนาดเอกมี 2 ลักษณะ คือ การนั่งขัดสมาธิ และนั่งพับเพียบ โดยท่านั่งแบบขัดสมาธิถือเป็นท่านั่งที่เหมาะสมสำหรับการบรรเลงระนาดเอกมากที่สุด เพราะเป็นท่านั่งที่มีความเป็นธรรมชาติ มีความสะดวก ผ่อนคลาย ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบรรเลงได้ดีที่สุด
2. การจับไม้ ให้ก้านของไม้ระนาดอยู่ในร่องของอุ้งมือ นิ้วทุกนิ้วช่วยควบคุมการจับไม้ มือทั้งสองคว่ำลง ข้อศอกทำมุมฉาก ตำแหน่งแขนซ้ายและขวาขนานกัน ตำแหน่งของนิ้วอาจแตกต่างกันบ้าง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 2.1  การจับแบบปากกา
 2.2  การจับแบบปากไก่
 2.3  การจับแบบปากนกแก้ว

 หลักการตีระนาด

1. ตีตรงกลางลูกระนาด 2. การเคลื่อนของมือ โดยที่มือซ้ายและมือขวาต้องอยู่ในแนวขนานกัน ตำแหน่งของหัวไม้อยู่กึ่งกลางลูกระนาด และเอียงตามทิศทางของผืนระนาด 3. การยกไม้ เสียงของระนาดเอกจะดังมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพลังในการตี ควรยกไม้ระนาดให้สูงจากผืนระนาดประมาณ 6 นิ้วสำหรับตีฉาก และ 2 นิ้วสำหรับตีสิม 4. น้ำหนักมือ ต้องลงน้ำหนักของมือซ้ายและมือขวาให้เท่ากัน
ระนาดเอกใช้ในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำ

 อ้างอิง